กระดูกเกิดขึ้นได้อย่างไร?
กระดูก
(Bone)เป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบโครงร่าง
(Skeletal system)เมื่อครั้งที่เรายังเป็นตัวอ่อนระยะเอมบริโอ
(Embryo)ในครรภ์มารดา กระดูกส่วนใหญ่ในร่างกาย
จะเริ่มต้นจากการเป็นกระดูกอ่อน (Cartilage)
หลังจากนั้นเซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocyte)จะรวบรวมแร่ธาตุอนินทรีย์
จากสิ่งแวดล้อมภายนอกเซลล์ (Extracellular matrix)
รวมถึงหลั่งสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ที่จำเป็น ก่อให้เกิดเนื้อกระดูกจากภายใน
โดยเริ่มจากบริเวณพื้นที่ส่วนกลางของชิ้นกระดูกก่อน (Diaphysis)ถัดมาจึงเป็นส่วนปลายของกระดูกทั้งบนและล่าง (Epiphysis)
Calcium 1000 The Nature
แคลเซียม 1000 เดอะ เนเจอร์
หลังจากนั้นเซลล์กระดูกอ่อนจะเริ่มเสื่อมสลายไป
เนื้อกระดูกภายในจึงมีลักษณะเป็นโพรงเรียกว่า Spongy bone ซึ่งโพรงเหล่านั้น
เคยเป็นที่อยู่ของเซลล์กระดูกอ่อนก่อนที่จะตายไปนั่นเอง ส่วนเซลล์กระดูก (Osteoblast) ที่อยู่รอบนอกชิ้นกระดูกนั้น จะทำหน้าที่รวบรวมแร่ธาตุอนินทรีย์ให้เป็นชั้นหนา
เกิดเป็นกรอบของกระดูก ที่มีความแข็งแรงสูงมาก เราเรียกส่วนนี้ว่า Compact
bone
รูปภาพแสดงการสร้างกระดูกของตัวอ่อนระยะเอมบริโอ
(Embryo)
และเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดา
จากที่เราทราบกันแล้วว่า กระดูก 1 ชิ้น จะประกอบไปด้วย 2 บริเวณ คือ Diaphysis และ Epiphysis บริเวณ Diaphysis นั้น จะเจริญเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด
ส่วนบริเวณ Epiphysis แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่จะกลายเป็นกระดูกแข็งไปแล้ว
แต่ยังมีบางบริเวณที่เจริญช้ากว่า และยังคงเป็นกระดูกอ่อนอยู่ นั่นคือบริเวณ Epiphyseal
plate หรือ Growth plate
ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง Diaphysis และ Epiphysis มีลักษณะเป็นแถบกระดูกอ่อน เรียงเป็นทางยาวไปจนสุดที่ขอบกระดูก
ความสำคัญของบริเวณ Epiphyseal plate คือ
ทำให้กระดูกสามารถเจริญเติบโตขยายขนาดในแนวยาว (Linear growth) เพื่อเพิ่มความยาวของกระดูก และแนวราบ (Horizontal growth)เพื่อเพิ่มความกว้างของกระดูกได้
รูปภาพแสดงแถบ
Epiphyseal plate หรือ Growth
plate